วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Box.net บริการจาก Google

BOX.net

Box.net คือบริการรับฝากไฟล์ออนไลน์ (Cloud Storage)ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2006 จากโมเดลธุรกิจเล็ก ๆในมหาวิทยาลัย มันต่างจากระบบฝากไฟล์ทั่วไปเพราะเป็น "Cloud Service" ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง ผู้ใช้สามารถเลือกเสียค่าใช้จ่าย ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณของตนได้ Box.net ออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์ได้ทุกสถานที่ที่มีอินเตอร์เน็ต -- ลองคิดถึงสมัยนี้ที่คนหนึ่งคนมีทั้ง pc ที่บ้าน, pc ที่ทำงาน , notebook และยังมี smartphone อีก

ซีอีโอ Aaron Levie บอกว่า บริษัทมีรายได้ถึงสามเท่าในปี 2010 ที่ผ่านมา และคาดการณ์กันว่าปี 2011 นี้อาจจะมีรายได้ถึงสี่เท่าตัว ปัจจุบัน Box.net มีไฟล์เอกสารประมาณ 300 ล้านไฟล์และมีผู้ใช้กว่า 5 ล้านคน องค์กรณ์ใหญ่ ๆ ที่ใช้บริการ Box.net เช่น Cisco,Dell,DreamWorks จากการได้ทุนเพิ่มในครั้งนี้ทำให้ Box.net มีทุนทั้งหมดถึง 78 ล้านเหรียญฯ

Box.net ยังได้เปิดบริการแบบ "Personal" ซึ่งสามารถใช้งานได้ฟรี มีพื้นที่ให้ถึง 5 GB และมี Mobile App ให้ใช้อีกด้วย

วิธีการเข้าใช้ BOX.net มีด้วยกัน 2 กรณีคือ 
กรณีที่ 1 ถ้าคุณใช้ Google Chrome 
  1. เปิด Google Chrome มองหาแถบ Apps แล้วเลือก Web Store
  2. จำนำคุณไปยัง เว็บไซต์ https://chrome.google.com/webstore?hl=en-US 
  3. มองหาแถบ Collections เลือก Students
  4. เลือก Box - 5 GB Free Storage
  5. เืลือก Add To Chrome เพื่อเป็นการ short cut ให้กลับ Google chrome
  6. ทำการสมัครเข้าใช้ได้ตามปรกติ

  1. กรณีที่ 1 ถ้าคุณใช้ เบาร์เซอร์ทั่วไป (วิีิีธีนี้จะไม่สามารถสร้าง Short Cut ได้)
  2. เข้าไปที่่ www.box.net 
  3. ทำการลงทะเบียนตามปกติ 
สาเหตุที่เกิดใช้ : เพราะสามารถเก็บงานที่สำคัญไว้ได้ เป็นส่วนกลาง เมื่อ โน๊คบุ๊คหายหรือเสียเราก็ยังคงมีไฟล์งานอยู่

ข้อดี : สามารถใช้งานได้บนโทรศัทพ์ และ ได้พื้นที่การใช้งานฟรีได้ึถึง 5 GB

ข้อเสีย : ไฟล์งานที่อัฟขึ้นจะต้องไม่เกิด 25 MB ต่อ 1 ไฟล์

จุดเด่นของ BOX คือ สามารถส่งไฟล์หรือแชร์ไฟล์ได้จำนวนมากในครั้งเดียวกันและมีคุณสมบัติที่่ให้เราสามารถจดจำรายชื่อ E-mail ของเพื่อน เราได้อีกด้วย

เว็บที่่ให้บริการใกล้เคียงกัน คือ Dropbox 
ข้อแตกต่าง คือ Dropbox ให้พื้นที่ใช้งานฟรี 2 GB แต่ Box ให้พื้นที่ใช้งาน 5 GB

หน้าเว็บ ของ BOX.net

สมัครใช้ได้น่ะคับ ฟรี



วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีมัลติมีเดียที่ส่งผลกระทบ และ ผลดีต่อสังคมไทย ในเรื่องของการศึกษา และธุรกิจ


มัลติมีเดียในประเทศไทย
         ด้านการศึกษา (Education) : เทคโนโลยีด้านการศึกษา (Educational Technology)  ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้วยกระบวนการรวบรวม (Collection)  การวิเคราะห์ (Analysis) 
การฟออกแบบ 
(Design)
 มาประยุกต์ใช้  เช่น วิทยุ  โทรทัศน์ และ  
Overhead
การศึกษา (Educationa)
การเรียนในชั้นเรียน  (Classroom – Based Learning)
การประชุมทางไกลผ่านระบบเครือข่าย (Video Conference)
ภาพโทรคมนาคมและการติดต่อสื่อสารทั่วโลก
ภาพโทรคมนาคมและการติดต่อสื่อสารทั่วโลก
ภาพระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)  รวมองค์ประกอบหลักได้แก่  อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  ซอฟต์แวร์  (Software)  ระบบเว็บเบส (Web-Based Architecture)  ต่อเข้าระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย (Network Computing) และระบบโทรคมนาคม (Telecommunication) 
เว็บ (Web – Based Learning / Training)  ระบบการเรียนรู้หรือฝึกอบรมทางไกลแบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E – Learning)  โดยการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องสัญญาณสื่อสารในระบบเครือข่าย  ระบบการเรียนรู้หรือฝึกอบรมผ่านบอร์ดแคส (Distance Broadcast Learning/Training)        จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบซีดีรอม (CD-ROM) การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนหรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aided Learning: CAL)  ชุดผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI Package)  เก็บอยู่ในรูป CD-ROM

ตัวอย่างชุดผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI Package) ที่บรรจุใน CD-ROM  ได้แก่ 
·       Macromedia Dreamweaver
·       Macromedia Director
·       Authorware
·       Adobe Photoshop,  Illustrator
·       Macromedia Firewall
·       Macromedia Flash
·       Lotus Screencam
·       Swish
·       Snagit, Ultrasnap

ผลกระทบโดยรวมต่อการศึกษา
·       ผลต่อการเรียนการสอน
·       ผลต่อการบริการทางการศึกษา
·       ผลต่อการบริหารจัดการ
·       ผลต่ออาจารย์และนักเรียนนักศึกษา

ผลกระทบต่อการเรียนการสอน
·       การเรียนแบบเดิมถูกหาว่าล้าสมัย
·       การเรียนแบบเดิมไม่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
·       คอมพิวเตอร์ทำให้สื่อดูทันสมัย
·       แอนิเมชั่นทำให้สื่อการสอนดูตื่นเต้นเร้าใจ
·       คอมพิวเตอร์ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
·       คอมพิวเตอร์เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

ผลกระทบต่อการบริการการศึกษา
·       การให้บริการการศึกษาต้องทันยุคทันสมัย
·       คอมพิวเตอร์และแอนิเมชั่นจูงใจผู้ใช้บริการ
·       เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นตัวนำในการบริการการศึกษา
·       หน่วยงานการศึกษาต้องจัดหามาให้บริการ

ผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
·       คอมพิวเตอร์และแอนิเมชั่นต้องใช้งบประมาณสูง
·       ขาดผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการเฉพาะ
·       ซอฟแวย์มีน้อยและราคาสูง
·       ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
·       เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ล้าสมัยเร็ว
·       ผู้บริหารขาดความรู้ความเข้าใจ

ผลกระทบต่ออาจารย์และนักเรียนนักศึกษา
·       นักเรียนนักศึกษานิยมสื่อคอมพิวเตอร์และแอนิเมชั่น
·       อาจารย์ต้องพัฒนาตนเองให้เท่าทัน
·       สื่อเดิม ๆ ลดความสำคัญลงและไม่เป็นที่นิยม
·       อาจารย์ต้องผลิตสื่อคอมพิวเตอร์และแอนิเมชั่นให้ทันความต้องการ
·       นักเรียนนักศึกษาให้ความสนใจการเรียนเพิ่มขึ้น
·       อาจารย์มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอต่อการพัฒนา

ด้านธุรกิจ (Business)
—      การนำเสนองาน (Task Presentation)  ใช้ในการประชุมทางไกล (Video Conferencing)  โดยสื่อสารผ่านกล้องวีดีโอและไมโครโฟน
Sydney Opera House, Australia

การนำเสนอโครงสร้างและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ 
The Dome in Modern Valencian Architecture. 16th -18th centuries

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554


flash ทำหิมะตก แบบง่ายๆ
เป็นการสร้าง หิมะให้ตกใน แฟลช โดยไม่ใช่ Code ActionScript โดยวิธีอาจจะมีขั้นตอนที่ทำยาวกว่าแบบ ActionScript แต่จะง่ายกว่าแบบใส่ ActionScript โดยการวาดหิมะแล้วทำให้มันตกลงไป ถ้าอยากให้หิมะตกช้าๆก็กำหนดเฟรมเยอะๆไว้ครับถ้าให้หิมะตกเร็วก็กำหนดเฟรม น้อยๆ
1 เปิดโปรแกรม flash ขึ้นมาแล้วก็กำหนดขนาด จากตัวอย่างใช่ 400 x 250
2 import รูปภาพเข้ามา โดยเราจะนำมาเป็นฉากหลัง โดยไปที่ File > import > import to stage.. แล้วจัดรูปให้อยู่ตรงกับ stage 
   


3 สร้างเลเยอร์ใหม่อีกหนึ่งเลเยอร์ โดยเลเยอร์นี้จะเอาไปทำลูกหิมะ









4 ใช้เครื่องมือ brush  แล้วก็เลือกสีขาว และก็ปรับหัวแปรงให้ขนาดพอเหมาะครับ
5 วาดหิมะลงไปในเลเยอร์ที่เราสร้าง
6 นำเมาส์ไปคลิกที่เลเยอร์ 2 และก็กด F8 เพื่อ convert to symbol และตั้งค่าตามรูป

7 ไปดูที่ส่วนของ Property > Blur > และก็ปรับค่าเบอล เลยครับจากตัวอย่างปรับเป็น 3 px Quality low






8 สร้างเลเยอร์ใหม่แล้วก็ วาดหิมะลงไป และก็ไป convert to symbol จากนั้นก็ปรับให้เป็น blur เหมือนขั้นที่ 5-7 นะครับ โดยหิมะที่วาดพยายามอย่าวาดซ้ำที่เดิม ครับ โดยเราจะสร้างหิมะซัก 3 เลเยอร์ หรือจะเอามากกว่านั้นก็ได้
9 จะได้พื้นหลัง 1 เลเยอร์ และก็หิมะอีก 3 เลเยอร์แล้วก็นำเลเยอร์หิมะทั้ง3 ลากไปไว้ข้างบน stage
10 กด F6 ที่เฟรม 60 ของเลเยอร์1
11 กด F6 ที่เฟรม 60 ของเลเยอร์2

12 นำเมาส์ไปคลิกที่เฟรม 60 ในเลเยอร์ 2 และก็ ลากหิมะลงไปด้านล่าง
13 นำเมาส์ไปคลิกขวาระหว่างเฟรม 1-60 และก็คลิกขวาเลือก Create Motion Tween
14 ทำในเลเยอร์ 3 วิธีเหมือนขั้นที่ 11-12 ตรงขั้นที่ 11 เราสามารถเปลี่ยนเฟรมได้ถ้าต้องการให้หิมะหล่นเร็วขึ้นก็ไปกด F6 ที่เฟรมก่อนหน้านี้ จากตัวอย่างในเฟรมที่ 40
15 ทำในเลเยอร์ที่ 4 ให้หิมะตกเหมือนขั้นที่ 14 นะครับ จากนั้นก็รันผลได้เลยครับ ctrl+enter 

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ นายจุมพล  สุวรรณจันทร์
ชื่อเล่น บิ๊ก
วันเกิด 18 ส.ค. 2535 
จบจาก อาชีวสุราษฎร์ธานี
E-Mail -  jompol_5122010391@hotmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

flash ทำหิมะตก แบบง่ายๆ

flash ทำหิมะตก แบบง่ายๆ
เป็นการสร้าง หิมะให้ตกใน แฟลช โดยไม่ใช่ Code ActionScript โดยวิธีอาจจะมีขั้นตอนที่ทำยาวกว่าแบบ ActionScript แต่จะง่ายกว่าแบบใส่ ActionScript โดยการวาดหิมะแล้วทำให้มันตกลงไป ถ้าอยากให้หิมะตกช้าๆก็กำหนดเฟรมเยอะๆไว้ครับถ้าให้หิมะตกเร็วก็กำหนดเฟรม น้อยๆ
1 เปิดโปรแกรม flash ขึ้นมาแล้วก็กำหนดขนาด จากตัวอย่างใช่ 400 x 250
2 import รูปภาพเข้ามา โดยเราจะนำมาเป็นฉากหลัง โดยไปที่ File > import > import to stage.. แล้วจัดรูปให้อยู่ตรงกับ stage 
flash ทำหิมะตก แบบง่ายๆ โดยไม่ใช่ code actionscript
3 สร้างเลเยอร์ใหม่อีกหนึ่งเลเยอร์ โดยเลเยอร์นี้จะเอาไปทำลูกหิมะ
flash ทำหิมะตก แบบง่ายๆ โดยไม่ใช่ code actionscript
4 ใช้เครื่องมือ brush แล้วก็เลือกสีขาว และก็ปรับหัวแปรงให้ขนาดพอเหมาะครับ
flash ทำหิมะตก แบบง่ายๆ โดยไม่ใช่ code actionscript

5 วาดหิมะลงไปในเลเยอร์ที่เราสร้าง
flash ทำหิมะตก แบบง่ายๆ โดยไม่ใช่ code actionscript
6 นำเมาส์ไปคลิกที่เลเยอร์ 2 และก็กด F8 เพื่อ convert to symbol และตั้งค่าตามรูป
flash ทำหิมะตก แบบง่ายๆ โดยไม่ใช่ code actionscript

7 ไปดูที่ส่วนของ Property > Blur > และก็ปรับค่าเบอล เลยครับจากตัวอย่างปรับเป็น 7 px Quality low
flash ทำหิมะตก แบบง่ายๆ โดยไม่ใช่ code actionscript

8 สร้างเลเยอร์ใหม่แล้วก็ วาดหิมะลงไป และก็ไป convert to symbol จากนั้นก็ปรับให้เป็น blur เหมือนขั้นที่ 5-7 นะครับ โดยหิมะที่วาดพยยามอย่าวาดซ้ำที่เดิม ครับ โดยเราจะสร้างหิมะซัก 3 เลเยอร์ หรือจะเอามากกว่านั้นก็ได้
9 จะได้พื้นหลัง 1 เลเยอร์ และก็หิมะอีก 3 เลเยอร์แล้วก็นำเลเยอร์หิมะทั้ง3 ลากไปไว้ข้างบน stage
10 กด F6 ที่ฟรม 60 ของเลเยอร์1
11 กด F6 ที่ฟรม 60 ของเลเยอร์2
flash ทำหิมะตก แบบง่ายๆ โดยไม่ใช่ code actionscript

12 นำเมาส์ไปคลิกที่เฟรม 60 ในเลเยอร์ 2 และก็ ลากหิมะลงไปด้านล่าง
13 นำเมาส์ไปคลิกขวาระหว่างเฟรม 1-60 และก็คลิกขวาเลือก Create Motion Tween
14 ทำในเลเยอร์ 3 วิธีเหมือนขั้นที่ 11-12 ตรงขั้นที่ 11 เราสามารถเปลี่ยนเฟรมได้ถ้าต้องการให้หิมะหล่นเร็วขึ้นก็ไปกด F6 ที่เฟรมก่อนหน้านี้ จากตัวอย่างในเฟรมที่ 40
15 ทำในเลเยอร์ที่ 4 ให้หิมะตกเหมือนขั้นที่ 14 นะครับ จากนั้นก็รันผลได้เลยครับ ctrl+enter 




อ้างอิง :: http://www.sadung.com/?p=5000

การจัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์


การจัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
การจัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ จำแนกได้เป็น 2 วิธี คือ
1.       การแทนค่าตัวเลขจำนวนเต็มไม่รวมเครื่อง มีลักษณะดังนี้
·         จัดเก็บข้อมูลตัวเลขเฉพาะค่าบวก
·         มีค่าตั้งแต่ 0-255
2.       การแทนค่าตัวเลขจำนวนเต็มรวมเครื่องหมาย มีลักษณะดังนี้
·         จัดเก็บข้อมูลตัวเลขทั้งค่าบวกและค่าลบ
·         มีค่า -127 ถึง +128
·         การแยกแยะดูจาก Sing Bit อยู่ตำแหน่งซ้ายสุดตำแหน่ง 128
·         Sing Bit 0 แทน ค่าบวก 1 แทน ค่าลบ
ตัวอย่าง
                - 50 = 1  011 0010
           +17 = 0 001 0001

การปฏิบัติการกับตัวเลข มีหลักการดังนี้
1.       1. การปฏิบัติการกับตัวเลขในระบบ Computer จะใช้วงจรการบวก
    1 1 0 1
    0 1 0 1
 1 0 0 1 0
2.       2. การลบตัวเลขในระบบ Computer จะใช้วิธีการบวกด้วย Complement

หลักการแปลงเลขฐานมีด้วยกัน 2 ข้อคือ
1.       1. เลขฐานใด ๆ เป็นเลขฐานสิบ ให้ใช้วิธีการคูณกับค่าประจำหลักของเลขฐาน
2.       2.เลขฐานสิบ เป็นเลขฐานใด ๆ ให้ใช้วิธีการหารด้วยเลขกำลังของเลขฐาน
เลขฐาน 16 เป็น เลขฐาน 8 ให้แปลงเป็นเลขฐาน 2 แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3
เลขฐาน 8 เป็น เลขฐาน 16 ให้แปลงเป็นเลขฐาน 2 แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4

BCD - 8421 ย่อมาจาก Binary Code Decimal – 8421
·         1. มีค่า 0 – 9 หรือ 0000 – 1001
·         2. วิธีคิดจะแยกเลขตัวเลขออกเป็นตัว ๆ เช่น 120 จะแยกได้เป็น         1 = 0001
                                                                         2 = 0010
                                                                         0 = 0000
ดังนั้น 120 สามารถแปลงได้เป็น BCD – 8421 ได้เป็น 0001 0010 0000

รหัสเกิน 3 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Excess 3 code ดังแปลงมาจาก BCD – 8421 โดยบวกเพิ่มค่าเข้าไป 3
ตัวอย่าง          Decimal                                     BCD – 8421                          Excess 3 code
                      4                                              0100                                         0111
                      5                                              0101                                         1000
                      8                                              1000                                         1011

การลบด้วยวิธี 2’s Complement มีขึ้นตอนดังนี้
1.       1.  แปลงเลขฐาน 2 ให้อยู่ใน One’s complement ด้วยการกลับ 0 เป็น 1 และ 1 เป็น 0
2.       2.  บวกค่าเข้าไปอีก 1
ตัวอย่าง 5-2 นำ -2 มา 2’s complement จะได้
 0000 0010
1.       1111 1101
2.                     1
3.       1111 1110
ดังนั้นจะได้             + 5      0000 0101
                      - 2       1111 1110
                        3    1  0000 0011
ตัวอย่าง (-5)-4 นำ -4 มา 2’s complement จะได้
 0000 0100
1.       1111 1011
2.                    1
3.       1111 1100
นำ -5 มา 2’s complement จะได้
 0000 0101
1.       1111 1010
2.                    1
3.       1111 1011
ดังนั้นจะได้   - 5       1111 1011
              - 4       1111 1100
                     1  1111 0111
ในลำดับต่อไป นำค่าที่ได้จากการบวก 1111 0111 มาทำการ 2’s complement
               1111 0111
1.                0000 1000
2.                            1
3.                0000 1001
เพราะฉะนั้น (-5)-4 จะได้คำตอบ 0000 1001 ซึ่งเท่ากับ 9 ในระบบจำนวนจริง